สมัครเข้าร่วมโครงการ คลิ๊กที่นี้
หลักการและเหตุผล (ระบุความต้องการของสังคมหรือชุมชน)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ การให้บริการวิชาการแก่สังคม ภายใต้หลักการที่สถาบันการศึกษาอยู่ในฐานะที่เป็นที่พึ่งของชุมชนหรือเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ หรือทำหน้าที่ใด ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาขึ้นของชุมชนในด้านวิชาการหรือการพัฒนาความรู้ ตลอดจนความเข้มแข็งของชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติการจัดกิจกรรมบริการวิชาการมีผลต่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เมื่อจัดหรือดำเนินการขึ้นแล้ว มีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้นแก่ชุมนในด้านต่าง ๆและทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ตามศักยภาพของตน รูปแบบการจัดบริการวิชาการแก่สังคมมีหลากหลายกิจกรรม ทั้งการให้คำปรึกษา การให้การอบรม จัดประชุม สัมมนาวิชาการ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เข้าข่าย นอกจากประโยชน์ที่เกิดแก่สังคมแล้วบริการวิชาการยังเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานในการเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ให้แก่บุคลากรของสถานศึกษา รวมทั้งประโยชน์ในการประกันคุณภาพการศึกษา
การบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของคณะที่พึงให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและในด้านความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคมโดยกว้าง รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความหลากหลาย เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรของสถาบัน เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ให้คำปรึกษา ให้การอบรม จัดประชุมหรือ สัมมนาวิชาการ ทำงานวิจัยเพื่อตอบคำถามต่างๆ หรือเพื่อชี้แนะสังคม การให้บริการทางวิชาการนอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว คณะยังได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อันจะนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการ บูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งงานของนักศึกษาและเป็นการสร้างรายได้ของคณะจากการให้บริการทางวิชาการด้วย แต่การดำเนินโครงการให้บริการทางวิชาการจะต้องสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ และตัวบ่งชี้ ๕.๒ ใน srivijaya QA#๒ และสมศ.ที่ ๘ และ ๙ โดยเน้นการนำผลจากการบริการทางวิชาการไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในระยะ ๕ ปี
ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ เป็นพื้นที่ตั้งของวิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นชุมชนที่มีพื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตร และมีความแตกต่างในการดำรงชีวิตของประชากรในพื้นที่ ซึ่งมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ และมีอาชีพอื่น ๆ อีกหลายอาชีพอย่างหลากหลาย ภายในชุมชนมีการรวมกลุ่มลักษณะต่าง ๆ หลายกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข่งและอำนาจการต่อรองต่อหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ รวมทั้งการสร้างกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายหรือการพัฒนาของการบริหารส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาความต้องการของประชากรในพื้นที่ พบว่าต้องการการเพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตประจำวัน ในเรื่องของการใช้งานคอมพิวเตอร์
จากหลักการและเหตุผลข้างต้นจึงเกิดเป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้นสำหรับชุมชนเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้งานอินเทอร์เน็ต การใช้งาน Facebook, YouTube, email การใช้งาน Smart Phone เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
วัตถุประสงค์ (มีความสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)
๘.๑ เพื่อให้ดำเนินกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ แก่ชุมชนบ้านหนองไม้แก่นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
๘.๒ เพื่อให้บูรณการความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ของคณาจารย์ นักศึกษาภายในวิทยาลัยและถ่ายทอดสู่ชุมชนในทุกรูปแบบเพื่อให้วิทยาลัยรัตภูมิเป็นที่พึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง
๘.๓ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการบริการวิชาการกับชุมชนภายใต้ศักยภาพที่มีของบุคลากรภายในวิทยาลัยเพื่อวางแนวทางในการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชน
กำหนดการ
โครงการเรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน กิจกรรมย่อยที่ 2 ด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 9303 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ